วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

ค่าแรงโครงหลังคาเหล็ก....คำนวณอย่างไรไม่ให้ขาดทุน..

ค่าแรงโครงหลังคาเหล็ก....คำนวณอย่างไรไม่ให้ขาดทุน..

เมื่อมีผู้รับเหมาเสนอราคาในการก่อสร้างต่างๆ หรือแม้แต่ทำเฉพาะแค่โครงหลังคาเหล็ก ทางผู้รับเหมาเองก็ต้องตีราคาของทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในการสร้างในส่วนต่างๆ หรือหากใครอยากทำเฉพาะแค่โครงหลังคาเหล็กไปก่อน ผู้รับเหมาก็จะตีราคาค่าแรงโครงหลังคาเหล็กให้ผู้จ้างงานฟังอีกครั้งว่าสามารถรับข้อเสนอนี้ได้หรือไม่ เพราะการคิดค่าแรงโครงหลังคาเหล็ก ผู้รับเหมาเองก็ต้องดูจากราคาของที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้าง การเดินทาง ฯลฯ และค่าแรงโครงหลังคาเหล็กของพนักงานว่าทุกอย่างเมื่อรวมตัวกันแล้ว จะคุ้มหรือไม่??

การคำนวณค่าแรงโครงหลังคาเหล็กมีหลักการคิดอย่างไร??
เฉพาะค่าแรงสำหรับงานค่าแรงโครงหลังคาเหล็ก  ทางผู้รับเหมาะเขาอาจจะบอกราคามา ซึ่งผู้ว่าจ้างเองก็จะต้องถามกลับไปว่า ผู้รับเหมาใช้คนงานกี่คนในการก่อสร้างโครงหลังคา และใช้เวลาทำกี่วันเสร็จด้วย  ซึ่งผู้รับเหมาจะเป็นคนตอบว่า ใช้พนักงานในการก่อสร้างทั้งหมดกี่คนและใช้ระยะเวลาในการทำงานเสร็จไม่เกินกี่วันก็ว่าไป รวมทั้งบวกค่าแรงโครงหลังคาเหล็กอีกด้วย  ซึ่งสำหรับผู้รับเหมาบางเจ้า เขาจะมีการคำนวณหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงโครงหลังคาเหล็ก
,อุปกรณ์ทำโครงหลังคาเหล็ก และอาจจะต้องจ่ายค่าจิปาถะอื่นๆ อีก อย่างค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่ากินของคนงาน (อาจจะเป็นบางวัน) ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น ค้าอุปกรณ์สำรองหากเกิดชำรุด ฯลฯ รวมทั้งค่าเสื่อมราคาเครื่องมือและวัสดุสิ้นเปลือง หากใช้เวลาในการก่อสร้างเต็มกำหนดระเวลา และเมื่อหักค่าแรงโครงหลังคาเหล็กออกมารวมทั้งค่าอื่นๆ ดังกล่าว จะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ เรียกได้ว่าผู้รับเหมาจะต้องคิดและกำหนดราคาออกมาเพื่อไม่ให้เกิดการขาดทุน และอย่าลืมเผื่อราคาวัสดุที่อาจจะขึ้นด้วย เพราะหากคำนวณพอดีมากไปอาจทำให้ขาดทุนได้

ค่าแรงโครงหลังคาเหล็ก
จะเห็นได้ว่าผู้รับเหมาก็คิดค่าแรงโครงหลังคาเหล็กออกมาให้คุ้มกับค่าเหนื่อย ค่าวัสดุ และค่าอื่นๆ จิปาถะที่เรียกว่าไม่ใช่ง่ายๆ เลยที่จะคำนวณออกมา ทำให้ผู้รับเหมาคิดค่าแรงโครงหลังคาเหล็กส่วนใหญ่จะคิดแบบครั้งเดียวต่อการสร้างโครงหลังคาหนึ่งงาน  แต่ทั้งนี้ก็อาจจะขึ้นอยู่กับกรณีที่ว่าในการรับเหมาก่อสร้างนั้น ผู้รับเหมาทำเฉพาะแค่โครงหลังคาหรือทำตัวโกดังด้วย  หรือหากเกิดในกรณีที่เป็นปัญหาในเรื่องของวัสดุที่แพงขึ้น  หรือผู้ว่าจ้างมีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบหรือการวางโครงหลังคาใหม่ โดยอาจเพิ่มบางอย่างเข้าไป  ตรงนี้ผู้รับเหมาอาจเกิดปัญหาได้ เพราะได้ตีราคาค่าแรงโครงหลังคาเหล็ก และค่าวัสดุต่างๆ ไปแล้ว 

ความผิดพลาดของการจ่ายค่าแรงโครงหลังคาเหล็กที่อาจเกิดขึ้น
ก่อนจะทำเรื่องขอเก็บค่าจ้างเพิ่ม โดยผู้รับเหมาแจกแจงออกมาในเรื่องของค่าใช้จ่ายในเรื่อง ช่างงานปูน งานกระเบื้อง งานต่างๆยิบย่อยอีก และมีการเสียหายของ เครื่องมือของใช้ ซึ่งเรื่องนี้อาจจะต้องคุยกับผู้ว่าจ้างก่อนที่จะตกลงเซ็นต์สัญญา  ซึ่งผู้รับเหมาอาจจะต้องขอคิดค่าแรงโครงหลังคาเหล็กเพิ่มจากเดิม ในกรณีที่มีการว่าจ้างกันแบบปากเปล่า โดยผู้จ้างอาจจ่ายเงินให้ทั้งหมด หรือจ่ายครึ่งหนึ่งก่อน แต่หากมีปัญหาดังกล่าวตามมาแล้วผู้รับเหมาขอเบิกอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ คือผู้จ้างจะไม่จ่ายเพิ่ม และผู้รับเหมาอาจไม่ทำงานต่อให้เสร็จ  เพราะตอนที่ตกลงราคาค่าแรงโครงหลังคาเหล็กและค่าวัสดุต่างๆ นั้นก็เป็นการพูดตกลงกันปากเปล่า  สุดท้ายก็อาจจะต้องมีการยอมความกัน ทำให้เห็นบทเรียนว่าจะทำอะไรต้องคิดให้รอบครอบ คิดให้ถี่ถ้วนก่อน เพราะไม่เช่นนั้นผู้รับเหมาอาจต้องเสียเงินค่าแรงโครงหลังคาเหล็กให้กับลูกน้องฟรีๆ โดยที่ไม่ได้จากผู้ว่าจ้างเพิ่ม

 ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีเรื่องตามมา  หรืออาจจะใช้รูปแบบของการทำใบเสนอราคาก็ได้ ยอมเสียเวลาเล็กน้อย และเคลียให้เข้าใจกันก่อนที่จะตัดสินใจลงมือทำ จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมา
https://line.me/ti/p/~factory2016






























2 ความคิดเห็น: